welcom to my blog ยินดีต้อนรับสู่บล็อก

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

---ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน  มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ  การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และ ทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง  ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ใน- การติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะ ถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ---ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย -ภาษาเครื่อง (Machine Languages)       เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า  ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงาน คอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลข ฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลข ฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงาน คอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง     การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัว อักษร -ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์  แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง -ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็น ประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรม สามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียน โปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูง ใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้ เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ  คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์  (Interpreter)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น