1)อินทอร์เน็ต(Internet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ หมายความว่าเครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนานใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ในปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า60ล้านเครืองมาเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
2)จงอธิบายความสำคัญของของอินเตอร์เน็ตด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ 1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3)จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจะแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.ให้วามบันเทิงในรูปแบบต่างๆเช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
5.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
6.ใช้ในการชื้อขายสินค้าและบริการ
4)การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์Modemหมายความว่าอย่างไร
ตอบ อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับป็นสัญญาณดิจิทัลได้
5)ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตwwwมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ WWW (World Wide Web) คือ บริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเทอร์เน็ต (เว็บเพจ) มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น นิตยสารและหนังสือ แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ได้ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกได้ทันทีในราคาถูก ข้อมูลมีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโด ข้อมูลอยู่ในรูป Interactive Multimedia
6)จงยกตัวย่างประโยชน์ของE-mail
1.ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที
2.สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา
3.สามารถอ่านโอนแฟ้มข้อมูล
4.ประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่7
1)จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น LAN (Local Area Network)
2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network)
3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง WAN (Wide Area Network)
4. ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล PAN (Personal area network)
2)อินทราเน็ต(Intrenet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายภายในขององค์หนึ่งๆข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีสาขามากน้อยเพียงใด
3)จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่ม
จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com,www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น
4)จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Googleพอสังเขป
ตอบ ให้พิมพ์คที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วกดแป้นEnterหรือคลิกที่ปุ่มGoบนหน้าจอGoogle ก็จะแสดงเว็บที่ค้นพบ
5)Digittal library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ การจัดการสารสนเทศในรูปของสืออิเล็กทรอนิกส์ แทนนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว หากจะนำมาดิจิไทซ์หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สองผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์
6)จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ 1. เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@1509(http://www.school.net.th)เป็นเว็บไซต์ชุมทางสำหรับเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นสมาชิกโครงการSchooIINetและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
ตอบ เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น LAN (Local Area Network)
2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network)
3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง WAN (Wide Area Network)
4. ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล PAN (Personal area network)
2)อินทราเน็ต(Intrenet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายภายในขององค์หนึ่งๆข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีสาขามากน้อยเพียงใด
3)จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่ม
จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com,www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น
4)จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Googleพอสังเขป
ตอบ ให้พิมพ์คที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วกดแป้นEnterหรือคลิกที่ปุ่มGoบนหน้าจอGoogle ก็จะแสดงเว็บที่ค้นพบ
5)Digittal library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ การจัดการสารสนเทศในรูปของสืออิเล็กทรอนิกส์ แทนนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว หากจะนำมาดิจิไทซ์หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สองผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์
6)จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ 1. เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@1509(http://www.school.net.th)เป็นเว็บไซต์ชุมทางสำหรับเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นสมาชิกโครงการSchooIINetและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8
1) การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ -ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ -ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ การนำเสนอผลงานโดยใช้โสตทัศนศึกษานั้นมีเหตุผลเบื้องลึกคื หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกัน
2)หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ-การดึงดูดความสนใจ
-ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
-ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3) การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ -การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายเป็นผู้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
-การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
4)เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ --การนำเสนอSlide presentation
1โดยใช้โปรแกรมpower point
2โดยใช้โปรแกรมproshow Gold
3โดยใช้โปรแกรมFlip Album
--รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1การใช้โปรแกรมAuthorware
2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์Moodle
5) รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอยบ -การนำเสนอแบบSlide presentation -การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ตอบ -ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ -ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ การนำเสนอผลงานโดยใช้โสตทัศนศึกษานั้นมีเหตุผลเบื้องลึกคื หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกัน
2)หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ-การดึงดูดความสนใจ
-ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
-ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3) การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ -การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายเป็นผู้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
-การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
4)เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ --การนำเสนอSlide presentation
1โดยใช้โปรแกรมpower point
2โดยใช้โปรแกรมproshow Gold
3โดยใช้โปรแกรมFlip Album
--รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1การใช้โปรแกรมAuthorware
2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์Moodle
5) รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอยบ -การนำเสนอแบบSlide presentation -การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
Internet
Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้า
ด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP) เพื่อบริการ
แก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย
(network of networks)
ความสำคัญของ internet ในการศึกษา
-เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ
-มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งได้
-แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ
หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี 2 ประเภท
1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP)
ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์
2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)
ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ
---การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
-ผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท
วิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์
ถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะ
วิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้
เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางไปยัง ISP เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
--คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
--ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
(Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
--------------ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
-------------องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
---------------------------ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output
Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มี
ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”
(RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
ลักษณะของหน่วยความจำ RAM
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
ความหมายของซอฟแวร์เเละหน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ประเภทของซอฟแวร์
---ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
และ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1)ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
---ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา
2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
---ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2
ประเภท คือ
-ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
-ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
---ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ
การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และ
ทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง
ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ใน-
การติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะ
ถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตาม
จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้
เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
---ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
-ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า
ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์
ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงาน
คอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลข
ฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลข
ฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงาน
คอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้
ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัว
อักษร
-ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
-ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้
ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็น
ประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรม
สามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์
ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียน
โปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูง
ใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้
เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์
(Interpreter)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)